วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2561
 _______________
เนื้อหาที่ได้เรียน 
     เพื่อนๆนำเสนอต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

คนแรก : นางสาว จีรนันท์ ไชยชาย นำเสนอวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องคือการ เปรียบเทียบ,การเรียงลำดับ,การจัดหมู่




คนที่สอง : นางสาวประภัสสร แทนด้วง นำเสนอสื่อการจักประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวเลขกับเด็กอนุบาล
โรงเรียนประถมเกรทบาร์การเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็กๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะแก้ปัญหาคริตศาสตร์ด้วยตัวเองและพัฒนาทักษะ เช่น การจดจำตัวเลข การจำลำดับและคำนวณไปด้วย ในรายการครูจะสาธิตวิธีการประเมินเด็กๆผ่านการสังเกตในแต่ละวันและวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมเพื่อวานแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็กๆ รู้สึกสนุกกับวิชาตั้งแต่ชั้นเล้กๆผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่นๆก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีด้วย



คนที่สาม : นางสาว สุดารัตน์  อาสนามิ นำเสนอวิจัย เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
ตัวแปรอิสระ:
-การจัดประสบการณ์
- มอนเตสซอรี่
ตัวแปรตาม:
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.การจำแนก
2.การเรียงลำดับ
3.การนับ


     ต่อมาอาจารย์แจกแผงไข่เหลือใช้ และให้จับคู่กับเพื่อนแล้วคิดสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำจากแผงไข่เหลือใช้มา คู่ละ 1 อย่าง และให้มานำเสนออาจารย์



การประเมิน
ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนองาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยแนะเพิ่มเติมและอธิบายให้เราเข้าใจ



 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2561
 _______________
เนื้อหาที่ได้เรียน 
     วันนี้อาจารย์ให้พวกเรานำเสนอบทความ วิจัยหรือตัวอย่างการสอน

 ตัวอย่างการสอนของนักศึกษา : นางสาวทิพย์วิมล นวลอ่อน
นำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
เรื่อง สอนคณิตศาสตร์ให้มีชีวิตชีวา (ตอน เลขหมุนรอบตัวเรา)วีดีโอนื้ จากประเทศอังกฤษ สิ่งที่ครูจะทำก่อนเริ่มบทเรียนก็คือ การอบอุ่นร่างกาย เช่นหายใจแรงๆเคลื่อนไหวไปมา หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้เด็กสดชื่น จากนั้น จึงร้องเพลง ทำสิ่งต่างๆให้เด็กตื่นตัวก่อนจะเข้าสู่บทเรียนการสอน1.ประดิษฐ์สัญลักษณ์ท่าทางในการสอนตัวเลข
2.การสอนโดยใช้ภาษามือ ภาษาร่างกาย ให้เด็ก ร้อง เต้น แล้วก็เล่นตามซึ่งเด็กจะคิดว่า เป็นการเล่น คือ paly and Learn การเรียนบรูณาการ ผ่านการเล่นจากวีดีโอนี้ซึ่งไม่เพียงพอ แต่ละการเรียนรู้ พวกเขายังจดจำสัญลักษณ์ต่างๆ เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าจดจำและการเขียนอ่าน



 จากนั้นเพื่อนๆคนอื่นก็มานำเสนอต่อ

คนแรก : นางสาว สุชัญญา บุญยบุตร นำเสนอบทความเรื่องเรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม พ่อและแม่ต้องปลูกฝังทัศนะคติทางคณิตศาสตร์ไปในทางบวกตั้งแต่ลูกยังเด็กและเรียนรู้คณิตศาสตร์ไปพร้อมกับลูก เพื่อให้ลูกประสบผลสำเร็จในการเรียนและประโยชน์กับพ่อแม่พัฒนาเซลล์สมองป้องกันโรคอัลไซเมอร์
1.การทำงานร่วมกับคุณครูในโรงเรียน
2.ทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและเป็นเรืองใกล้ตัว
3.พ่อและแม่ต้องสอนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม

สรุป
การให้เด็กเรียนรู้สิ่งง่ายๆที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตั้งแต่เด็กยังเล็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายรวมทั้งพ่อแม่ควรเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยศึกษาวิชาคณิตศาสตร์นี้ไปพร้อมกันกับลูกให้ลูกเป็นเยาวชนที่ดีมีคุณภาพต่อประเทศชาติ



คนที่สอง : นางสาวกฤษณา  กบขุนทด นำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยมีการสอนและมีอุปกรณ์มาให้ มีจานกระดาษ10ใบ เขียนเลข 1-10วางเรียงกัน และให้ใช้ตัวหนีบ หนีบตามจำนวนตัวเลขที่ปรากฏในจาน เช่น ในจาน มีเลข 5 ก็หนีบตัวหนีบ 5 อัน

      จากนั้นอาจารย์สอนทำกิจกรรมในห้องเรียน
การแรเงาภาพสี่เหลี่ยมตามใจชอบโดยที่ไม่ซ้ำกัน
การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนองานและมีความตื่นเต้นเล็กน้อยที่วันนี้ต้องออกไปนำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียนและนำเสนอได้ดีเข้าใจง่าย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกค่อยแนะนำเพิ่มเติมให้เราเข้าใจมากขึ้น



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2561
 _______________
เนื้อหาที่ได้เรียน 

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 
- จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
- จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
- ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
- ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
- สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
- จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
- การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
- การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
- การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
- การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ

สาระที่ 2 การวัด
- การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน
- การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
- การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า /ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว /ความสูงของสิ่งต่างๆ
- การรียงลำดับความยาว/ ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
- การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
- การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
- การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
- ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตร
ของสิ่งต่างๆ
- การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
- เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
- ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
- ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
- เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืน เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้
พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์

สาระที่ 3 เรขาคณิต
- ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
- การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป

สาระที่ 4 พีชคณิต 
- แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
- แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้


สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์


วันนี้นักศึกษาไม่ได้มาเรียนจึงนำความรู้จากบล็อคของ นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส มาศึกษาค่ะ








วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561