วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
 _______________
เนื้อหาที่ได้เรียน 



       วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนๆในห้องออกไปนำเสนอ บทความ สื่อการเรียนการสอนและวิจัยให้อาจารย์และเพื่อนๆให้ฟังค่ะ :P
 
คนแรก : นางสาว วัชรา  ค้าสุกร เลขที่ 3 นำเสนอสื่อเรื่องสื่อการสอนคณิตศาสตร์ การสอนคณิตคิดสนุก แบ่งออกเป็น4บท ส่วนมากจะเป็นฝึกทักษะการใช้ตัวเลข

คนที่ 2 : นางสาวเพ็ญประภา บุญมา เลขที่4 นำเสนอ บทความ
 เรื่อง เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล 

- คณิตไม่ใช่แค่ตัวเลข - คณิตศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานวิชาพื้นฐาน ฐานในการเรียนรู้สาระวิชาอื่นๆในขั้นสูงต่อไปในอนาคต
-เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์- เด็กวัยนี้จะนับได้ 1-5 แต่ถามว่ามีค่าเท่าไรก็ยังไม่เข้าใจซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้)


คนที่ 3 : นายปฎิภาณ จินดาดวง เลขที่5
  • นำเสนอวิจัย
    เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช (ผู้วิจัย นางสาวอรกานต์ เพชรคุ้ม)
    ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
    ตัวแปรต้น = การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
    ตัวแปรตาม= ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  • นิยามคำศัพท์เฉพาะ
    -เด็กปฐมวัย
    -การจัดกิจกรรมทางการเพาะปลูกพืช
    - ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    - การจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
  • ทักษะคณิตศาสตร์
    -การรู้ค่าจำนวน
    -การเปรียบเทียบ
    -การเรียงลำดับ


การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานและฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เตรียมงานมานำเสนอได้ดี เข้าใจง่าย
ตอบคำถามที่อาจารย์ถาม ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง พูดคุยนอกเรื่องกันเล็กน้อย
ประเมินอาจารย์ : จะค่อยพูดเพิ่มเติมในการนำเสนองานของเพื่อน ให้เราเข้าใจเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอมากขึ้น


วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

หากิจกรรมที่สอดคล้องกับขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย


  • การนับ ตอบ ใช้วิธีการเล่านิทานที่เกี่ยวกับตัวเลข
  • ตัวเลข ตอบ ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นอยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กเห็นสิ่งที่เกี่ยวกับตัวเลข
  • การจับคู่ ตอบ เล่นเกมจับคู่สิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่าง
  • การจัดประเภท ตอบ จัดประเภทของสิ่งต่างๆ เช่น ฤดูกาล ของเล่น กีฬา
  • การเปรียบเทียบ ตอบ ให้เด็กได้ฝึกสังเกตความสัมพันธ์ของ 2 สิ่ง เช่น เปรียบเทียบว่าสิ่งใดสั้นกว่า สิ่งใดยาวกว่า
  • การจัดลำดับ ตอบ อาจจะใช้วิธีการให้เด็กทำตามคำสั่ง เช่น ให้เด็กจัดบล็อค เรียงลำดับตามความสูง
  • รูปทรงและเนื้อที่ ตอบ อาจจะนำรูปทรงต่างๆมาให้เด็กช่วยกันตอบว่ารูปทรงนี้ คืออะไร รูปร่างแบบไหน
  • การวัด ตอบ ใช้กิจกรรมนำของประเภทเดียวกันมาวัดว่ามีความยาวอย่างไร
  • เซต ตอบ ให้เด็กหาสมาชิกในเรื่องที่สนใจ เช่น ให้เด็กหาสมาชิกของรูปผลไม้
  • เศษส่วน ตอบ อาจจะให้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับรูปวงกลมที่หายไปที่ละส่วน แบ่งเป็นกี่ส่วนแล้วแต่ผู้สอน
  • การทำตามแบบหรือลวดลาย ตอบ วาดจุดปะให้เด็กได้ขีดตามให้เกิดรายละเอียดมากยิ่งขึ้น
  • การอนุกรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ 
 

 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
 _______________
เนื้อหาที่ได้เรียน 


       วันนี้อาจารย์ได้ทวนเรื่องเก่าๆให้พวกเรา เช่น เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องสติปัญญา การเรียนรู้ของเด็กต้องเหมาะสมกับพัฒนาการ(อายุ)สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก พัฒนาการ คือ การสะท้อนการทำงานของสมอง การพูดอย่างเดียวไม่ทำให้เด็กรู้เรื่อง เพราะไม่ใช่วิธีการทำงานของเด็ก เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ดังนั้น เราควรจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสม






การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ด้าน

  • ความรู้ทางกายภาพ คือ สิ่งที่มองได้เห็นได้ด้วยตา
  • ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  •  การนับ
  • ตัวเลข
  • การจับคู่
  • การจัดประเภท
  • การเปรียบเทียบ
  • การจัดลำดับ
  • รูปทรงและเนื้อที่
  • การวัด
  • เซต
  • เศษส่วน
  • การทำตามแบบหรือลวดลาย
  • การอนุกรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
หลักการพัฒนา
     เราต้องสอนเด็กจากประสบการณ์ตรงของจริง ให้เด็กได้มีความคิดริเริ่มโดยผ่านจากประสบการณ์เดิมของเด็กด้วย ควรเริ่มจากเรื่องง่ายๆใกล้ตัวเด็กไปหาเรื่องที่ยาก สร้างความเข้าใจดีกว่าการท่องจำ จัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความสนุกสนานไปกับมัน และ ท้ายที่สุดควรจะทบทวนเด็กว่าเด็กเข้าใจในสิ่งที่สอนด้วย


การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายจากง่ายไปยาก แต่อยากให้อธิบายให้ละเอียดกว่านี้หน่อยค่ะ

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
 _______________
เนื้อหาที่ได้เรียน


      วันนี้อาจารย์ได้สอนพวกเราในเรื่องการเล่าบทความ วิจัย วิดิโอแสดงการเรียนการสอน ให้กับพวกเราทุกคน และยังให้เพื่อน 1-2 คนออกมาเล่างานของตัวเองหน้าห้องค่ะ


      เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ คือ อาจารย์แจกกระดาษให้พวกเราทุกคน วันนี้ในห้องมีเพื่อนมาเรียน 17 คน แต่กระดาษมี 24 แผ่น อาจารย์จึงให้พวกเราช่วยกันมาประโยคสัญลักษณ์ ได้แก่
  • กระดาษมีจำนวนมากกว่าคนอยู่สี่แผ่น
  • กระดาษ > คน = 4 แผ่น
  • 21 > 17 = 4
  • 21 - 17 = 4
    
      การที่เราสอนประโยคสัญลักษณ์กับเด็กปฐมวัย เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจ เราควรจะมีวิธีการ เช่น การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เข้าใจในคณิตศาสตร์ อาจารย์เลยให้พวกเราออกมาเขียนทีละคนว่าชอบทานอะไรในกระดานที่อาจารย์เขียน 


 
      และท้ายคาบอาจารย์ให้พวกเราทุกคนทำสัญลักษณ์ที่แทนจังหวะเพลงที่อาจารย์ให้ฟัง ตอนแรกมี 1 จังหวะเลยแทนด้วยหัวใจ ตอนที่ 2 มี 2 จังหวะแทนด้วยหัวใจและวงกลมค่ะ


 การประเมิน
ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือตลอดคาบ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆมากันไม่มากเท่าไหร่เลยง่ายต่อการตอบคำถามในคาบค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเรื่องจำนวนมากกว่า น้อยกว่าและจังหวะของเสียงได้เข้าใจดีค่ะ


วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561
 _______________
เนื้อหาที่ได้เรียน
     วันนี้อาจารย์ได้มีรูปแบบการสอนให้พวกเราได้เข้าใจง่ายๆ เริ่มจากการที่เมื่อเริ่มคาบเรียน ยังมีเพื่อนมาไม่ครบแต่มีเพียง 19 คน อาจารย์ได้ให้พวกเราแจกกระดาษให้พวกเราทุกคนแต่กระดาษมีจำนวนไม่ครบกับพวกเรา กระดาษมี 17 แผ่น อาจารย์จึงสอนให้พวกเราตั้งคำถามกันขึ้นมา คณิตศาสตร์วันนี้ที่ได้เกี่ยวกับเรื่อง "น้อยกว่า (<) กับ มากกว่า(>)"



      
     หลังจากที่ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องการคิดเรื่องจำนวนน้อยกว่ามากกว่าไปแล้ว อาจารย์ให้พวกเราพับกระดาษแบบใดก็ได้ หลังจากที่พวกเราพับ อาจารย์ได้บอกว่าจริงๆพวกเราจะพับแบบไหนก็ได้เพราะไม่ได้กำหนดว่าจะต้องพับให้เท่ากัน




_______________


 การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือตลอดคาบ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามตลอดค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนได้เข้าใจง่ายค่ะ